มุมฮาลาล


: : “การสื่อสาร Thailand Diamond Halal ในเดือนรอมฎอน ฮ.ศ.1435” ณ โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค

 

โครงการ “การสื่อสาร Thailand Diamond Halal ในเดือนรอมฎอน ฮ.ศ.1435”

เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2557 ณ ห้องแกรนด์รัชดา ชั้น 5 อาคารธารทิพย์ โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค ถนนรัชดาฯ ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสถาบันมาตรฐานฮาลาลแห่งประเทศไทย ร่วมกันจัดงาน “การสื่อสาร Thailand Diamond Halal ในเดือนรอมฎอน ฮ.ศ.1435” โดย รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดร.ปกรณ์ ปรียากร ผู้อำนวยการสถาบันมาตรฐานฮาลาลแห่งประเทศไทย พลตำรวจตรีสุรินทร์ ปาลาเร่ เลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย โดยภายในงานนี้ กรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ปรับโฉมภาพลักษณ์โลโก้ฮาลาลใหม่ ภายใต้สโลแกน “THAILAND’S  DIAMOND  HALAL- WORLD’S NUMBER  ONE

”  มุ่งเน้นการสร้างความแข็งแกร่งในคุณภาพ ความน่าเชื่อถือ ความมาตรฐาน ประดุจดั่งเพชร เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ส่งออก และผู้บริโภค ในระบบการผลิตได้มาตรฐานฮาลาล สากลถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลาม เพื่อผลักดัน ”ฮาลาลประเทศไทย ฮาลาลเพชร ที่หนึ่งในโลก”

 “ การรีแบรนด์ดิ้งโลโก้  ถือเป็นโอกาสที่จะปรับภาพลักษณ์ของโลโก้และองค์กร เพื่อให้การรับรองฮาลาลที่กำลังทำอยู่เติบโตเข้ากับระบบมาตรฐานสากลของโลกที่กำลังให้ความสำคัญกับระบบมาตรฐานฮาลาลมากขึ้น โดยมีการพัฒนาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงระบบการรับรองให้ทันสมัย จากเมื่อครั้งที่จุฬาราชมนตรีต่วน สุวรรณศาสตร์ริเริ่มให้การรับรองฮาลาลเมื่อ พ.ศ. 2491 รวมกว่า 66  ปี”

สำหรับโลโก้ใหม่  ฮาลาลจะเป็นสี่เหลี่ยมสีเขียวเข้ม มีขีดสีเขียวอ่อนด้านละ 13 ขีด มีตัวภาษาอาหรับคำว่า ฮาลาลสีฟ้า ลอยอยู่บนเพชรที่แวววาว เพื่อสะท้อนให้เห็นถึง ความแข็งแกร่ง ความมาตรฐานที่พร้อมก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคง พร้อมกับกรรมการกลางฯ ทั้ง 52 ท่าน

ปัจจุบันหน่วยงานสำคัญที่อยู่ในความดูแลของกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย มีอยู่ 2  หน่วยงาน คือ ฝ่ายกิจการฮาลาล และสถาบันมาตรฐานฮาลาลแห่งประเทศไทย

ฝ่ายกิจการฮาลาลซึ่งเป็นหน่วยกำหนดมาตรการและการตรวจสอบ เพื่อรับรองผลิตภัณฑ์และดำเนินการตามคำขอของผู้ประกอบการ  วินิจฉัยเบื้องต้นในการออกคำรับรองฮาลาล เสนอต่อคณะกรรมการกลางเพื่อเห็นชอบ ประสานงานและกำกับดูแลการดำเนินกิจการฮาลาล พิจารณาเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ การเชือด การให้บริการที่ได้รับการรับรอง วัตถุดิบหรือสิ่งที่เป็นข้อสงสัย กำหนดมาตรการแก้ไข เสนอแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน   ที่ปรึกษาประจำสถานประกอบการ ที่ปรึกษาพิเศษ ผู้ตรวจสอบ ผู้ตรวจการผลิตภัณฑ์ฮาลาล ผู้ควบคุมการเชือด จัดทำข้อมูลสถานประกอบการและผลิตภัณฑ์ที่ได้รับคำรับรองฮาลาล ติดตาม ตรวจสอบ สถานประกอบการและผลิตภัณฑ์ที่ได้รับคำรับรองฮาลาล เสนอยกเลิกการรับรองและการอนุญาตแก่ผลิตภัณฑ์ที่ปฏิบัติไม่ถูกต้องตามหลักศาสนา และอีกหน่วยงานหนึ่งคือ สถาบันมาตรฐานฮาลาลแห่งประเทศไทย มีหน้าที่ศึกษา วิจัย พัฒนา เพื่อสร้างมาตรฐานผลิตภัณฑ์และบริการฮาลาล พัฒนาบุคคลากรที่เกี่ยวข้องกับงานมาตรฐานและการมาตรฐาน ฮาลาลอย่างเป็นระบบรวมทั้งการประชาสัมพันธ์กิจกรรมด้านฮาลาลให้ครอบคลุมมาตรฐาน งานการมาตรฐานงานโครงสร้างการรับรองฮาลาลงานประสานงานกับหน่วยงานราชการและหน่วยงานต่างประเทศ

   

 

 
     
 
     
 

 

หน้าแรก  :   เกี่ยวกับเรา  :   แผนที่  :   ติดต่อเรา
Copyrights © 2014 www.muslimprachuap.com All Rights Reserved.
counter